รอยดำ คืออะไร
รอยดำ หรือจุดด่างดำ เป็นภาวะผิวสีเข้มขึ้น ที่เรียกว่าไฮเปอร์พิกเมนเทชั่น (Hyperpigmentation) เกิดขึ้นเมื่อร่างกายผลิตเม็ดสีหรือเมลานินมากเกินในบางบริเวณของผิวหนัง ทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นๆ เกิดเป็นรอยดำที่มีขนาดและรูปร่างแตกต่างกันไป
รอยดำ ที่เกิดขึ้นบนผิวหน้าทำให้ผิวแลดูหมองคล้ำ มีจุดด่างดำ ไม่กระจ่างใส ซึ่งเกิดจากหลายสาเหตุทั้งปัจจัยภายในและภายนอกที่มากระตุ้น เช่น สัมผัสกับแดดมากเกินไป ฮอร์โมน หรือเกิดขึ้นหลังจากการอักเสบของผิวหนัง เช่น แผลจากสิวอักเสบ ผื่นแพ้ต่างๆ การทำเลเซอร์ การลอกหน้าบ่อยๆ จนผิวระคายเคืองอักเสบจนสีผิวเปลี่ยนแปลงไปเป็นรอยคล้ำรอยดำรอยแดงและเกิดริ้วรอยก่อนวัยอันควร
ประเภทของ รอยดำ
มีจุดด่างดำหลายประเภท:
- ฝ้า มีลักษณะเป็นรอยผิวหนังสีน้ำตาล หรือสีดำ ในบริเวณที่ผิวหนังถูกแสงแดด เช่น ที่ใบหน้า โหนกแก้ม และพบฝ้าได้บ่อยในผู้ที่ใช้ยาคุมกำเนิด รวมทั้ง หญิงตั้งครรภ์ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนและพัฒนาการในระหว่างตั้งครรภ์
- กระรอยสีน้ำตาลเข้มที่พบบริเวณผิวหนังที่ผ่านการตากแดด/โดนแสงแดดมาเป็นเวลายาวนาน พบได้ทั้งเพศหญิงและเพศชาย และพบได้ทุกวัย แต่จะพบได้มากกว่าในผู้สูงอายุเกิดจากการมีเม็ดสีเมลานินมากกว่าปกติ พบกระที่บริเวณใบหน้า และบริเวณที่ถูกแสงแดด กระมักเข้มขึ้นในฤดูร้อน เนื่องจากแสงแดดจัด โดยเฉพาะ UV-B เป็นตัวกระตุ้นให้กระเข้มขึ้นกระอาจมีสีอื่น เช่น แดง, เหลือง, ดำ แต่สีต้องเข้มกว่าผิวหนังข้างเคียง
- รอยดำที่เกิดจากการอักเสบ เกิดหลังจากผิวหนังเกิดการอักเสบ หรือได้รับบาดเจ็บ เรียกว่า Post Inflammatory Hyperpigmentation หรือ PIH เกิดขึ้นหลังจากที่ผิวเกิดการอักเสบ จะกระตุ้นให้เซลล์สร้างเม็ดสี ผลิตเม็ดสีที่เพิ่มขึ้น เริ่มจากเอนไซม์ไทโรซิเนส (Tyrosinase) ที่อยู่ภายในเมลาโนโซมเปลี่ยนสารตั้งต้นให้เป็นเม็ดสีเมลานิน และเคลื่อนย้ายเม็ดสีเมลานินจาก Melanocytes มาอยู่ที่เซลล์ผิวหนังชั้นบน
ชนิดของ รอยดำ
ชนิดของรอยดำ หรือจุดด่างดำ และอาการหลักๆที่พบบ่อยสุด คือ:
ชนิด |
อาการ |
บริเวณที่มักเกิดในร่างกาย |
มักเกิดกับใคร |
กระ | จุดสีน้ำตาลหรือสีดำบริเวณที่ผิวหนังถูกแสงแดด | มักเกิดบนใบหน้าและมือ หรือในบริเวณที่มีถูกแสงแดด | ผู้หญิง หลังจากถูกแสงแดดสะสมทำผิวเสียมานาน |
ฝ้า | จุด รอยผื่นสีคล้ำ สีน้ำตาล หรือสีดำ บริเวณที่ผิวหนังถูกแสงแดด | มักจะปรากฏบนหน้าผากใบหน้าและท้อง | มักพบในหญิงวัยกลางคน ผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ หรือกินยาคุมกำเนิด |
รอยดำจากการอักเสบ | จุดด่างดำหรือรอยแผลผิวคล้ำที่เกิดหลังจากผิวอักเสบ เช่น รอยดำจากสิว หรือแผล หรือ ผิวคล้ำจากเลเซอร์ | ใบหน้าหรือลำคอ | ผู้ที่มีอาการอักเสบหรือบาดเจ็บที่ผิวหนัง |
อาการของ รอยดำ
มีลักษณะเป็นรอยผิวหนังสีน้ำตาล หรือสีดำ อาจเป็นปื้นดำที่มีขนาดแตกต่างกัน และเป็นได้ทุกที่ในร่างกาย ไม่ได้มีอาการเจ็บอะไร มีผลด้านความสวยงาม
รอยดำ ไม่เป็นอันตรายและมักจะไม่ได้แสดงอาการของโรคร้ายแรง ในบางกรณี บริเวณที่เป็นรอยดำของผิวหนังจางหายไปเอง ในคนอื่น ๆ จุดด่างดำจางหายไปกับการรักษา แม้ว่าการรักษาจะไม่สามารถทำให้รอยดำหายได้ตลอดไปอย่างสมบูรณ์ แต่ก็อาจช่วยให้อาการดีขึ้นได้
ปัจจัยของการเกิด รอยดำ
ปัจจัยมีหลายประการ ปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้ฝ้า กระ และ จุดด่างดำ ปรากฎตัวออกมาได้เร็ว คือ การถูกแดดจัด ทำให้ผลิตเมลานินที่มากเกินไป เมลานินเป็นเม็ดสีที่ให้สีผิว และมันผลิตโดยเซลล์ผิวที่เรียกว่าเมลาโนมาไซต์ เงื่อนไขหรือปัจจัยต่าง ๆ สามารถเปลี่ยนแปลงการผลิตของเมลานินในร่างกายที่ทำให้เกิด ฝ้า กระ จุดด่างดำ หรือ รอยดำ ได้แก่
1. พันธุกรรม พบว่าผู้ที่เป็นฝ้ามากกว่าร้อยละ 30 มีประวัติคนในครอบครัวเป็นฝ้าด้วย
2. แสงแดด การได้รับแสงแดดโดยไม่มีการป้องกันมากเกินไป เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดรอยดำที่สำคัญ รังสีอัลตราไวโอเลตในแสงแดดก่อให้เกิดกระบวนการ peroxidation ของไขมันในชั้นเมมเบรนของเซลล์ ทำให้เกิดอนุมูลอิสระ (free radicals) ซึ่งกระตุ้นเซลล์สร้างเม็ดสี (melanocytes) ให้สร้างเม็ดสี (melanin) มากขึ้น ทั้งช่วงคลื่น UV-B และ UV-A ทำให้เกิดฝ้า
3. ฮอร์โมนที่ไม่สมดุล เป็นปัจจัยทำให้เกิดฝ้าที่สำคัญ เอสโตรเจน (estrogen) และโปรเจสเตอโรน (progesterone) กระตุ้นเซลล์สร้างเม็ดสีให้สร้างเม็ดสีมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อถูกแสงแดด และพบฝ้าได้มากใน
- สตรีตั้งครรภ์ การตั้งครรภ์เปลี่ยนระดับฮอร์โมนและอาจส่งผลกระทบต่อการผลิตเมลานินในผู้หญิงบางคน เชื่อว่าการที่ฮอร์โมนเอสโตรเจน, โปรเจสเตอโรน และ melanocyte stimulating hormone (MSH) มีระดับสูงในช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ น่าจะมีส่วนกระตุ้นให้เกิดฝ้า
- ฝ้าเกิดขึ้นในคนที่กินยาคุมกำเนิดที่มีส่วนผสมของเอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรน
- ยาเคมีบำบัดบางชนิดอาจทำให้เกิดรอยดำเป็นผลข้างเคียง เช่น พบฝ้าในผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมาก ที่รักษาด้วย diethylstilbestrol
- ฝ้าในสตรีวัย หลังหมดประจำเดือนที่ได้รับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ส่วนผู้ที่ได้รับแต่ฮอร์โมนเอสโตรเจนไม่พบฝ้า ชี้ว่าโปรเจสเตอโรนน่าจะมีบทบาทในการทำให้เกิดฝ้ามากกว่า
- โรคต่อมไร้ท่อบางชนิด รบกวนระดับฮอร์โมนและสามารถเพิ่มการผลิตเมลานิน การได้รับแสงแดดมากเกินไปอาจทำให้เมลานินเพิ่มขึ้น เช่น ผู้ป่วยโรคไทรอยด์มีโอกาสเป็นฝ้ามากกว่าคนปกติถึง 4 เท่า
- ความเครียด มีรายงานสตรี 2 รายที่เป็นฝ้าหลังมีอารมณ์เครียดอย่างรุนแรง เชื่อว่าเกิดจากการที่ hypothalamus หลั่ง MSHมีส่วนกระตุ้นให้เกิดฝ้าได้โดยตรง
- มีรายงานตั้งแต่ พ.ศ. 2402 ว่าโรคแอดดรีสัน (Addison’s disease) ทำให้ผิวหนังมีสีดำคล้ำเป็นฝ้า ได้ มีชื่อเฉพาะว่า melasma suprarenale รอยคล้ำที่ผิวหนังชนิดนี้มักพบที่ฝ่ามือ, ปาก และบริเวณที่ผิวถูกกด เกิดจากการที่มีการผลิต adrenocorticotropic hormone (ACTH) มากกว่าปกติ ทำให้มีการหลั่งฮอร์โมนที่กระตุ้นเซลล์สร้างเม็ดสีเมลานิน (melanocyte stimu-lating hormone, MSH) มากขึ้น
4. อายุที่มากขึ้น
5. ความเจ็บป่วย รวมถึงความผิดปกติของภูมิต้านทาน, โรคระบบทางเดินอาหาร, ความผิดปกติของการเผาผลาญ และการขาดวิตามินที่เพิ่มการอักเสบโดยเฉพาะอย่างยิ่งในหลอดเลือดผิวหนัง เช่นธัยรอยด์ ตับอักเสบ ตับแข็ง ไขมันเกาะตับ เป็นปัจจัยให้เกิดฝ้าได้
6. ยาบางชนิดเช่น ยาทาในกลุ่ม ไฮโดรควิโนน สเตียรอยด์ กรดวิตามินเอ อาจทำให้เกิดฝ้า ยาทานบางชนิดที่ทำให้ไวแสงเพิ่มขึ้น ยากันชัก เช่น diphenyl hydantoin, mesantoin ยารักษามาเลเรีย หรือจากการสัมผัสกับสารเคมี / ได้รับสารพิษ เช่น สารหนู เหล็ก ทองแดง ทอง หรือการแพ้ยาย้อมผลถ้าเกิดการแพ้ก็เกิดรอยดำได้เช่นกัน
5. รอยดำหลังการอักเสบ หรือเกิดบาดแผล ทำให้ผิวเสียหาย เช่น รอยดำรอยแดง หรือแผลเป็นจากสิว แผลจากการโกน การเกาแผลจนเกิดรอยดำ การแว็กซ์ขน การสักผิวหนัง ผื่นแพ้ต่างๆฯลฯ
6. ภาวะอาหารที่ไม่ดี อาหารที่มีการอักเสบสูง, น้ำตาล, แป้งคาร์โบไฮเดรตที่ผ่านการขัดสี , โซเดียมและสารเคมีปรุงแต่งรสต่างๆ
7. เครื่องสำอาง พบว่าเครื่องสำอางบางตัวทำให้เกิดฝ้า ซึ่งส่วนผสมเหล่านี้อาจเป็นกลิ่นหอม หรือสี
8. การสูบบุหรี่ นิโคติน
เคล็ดลับ ป้องกันรอยดำ
1 เลี่ยงแสงแดดที่ทำให้ผิวเสื่อมแก่ก่อนวัย และใช้สารกันแดดที่มีค่า SPF อย่างน้อย 30 ที่สามารถป้องกันได้ทั้งรังสี UVA/UVB ครีมกันแดดที่ป้องกันเฉพาะ UV-B (290-320 nm) ใช้ป้องกันฝ้าไม่ได้ผล เพราะผิวหนัง ยังได้รับ UV-A และแสงที่มองเห็น (visible light) ที่ช่วงคลื่น 320-700 nm ซึ่งช่วงคลื่นนี้ก็กระตุ้นให้เซลล์สร้างเม็ดสีผลิตเม็ดสีเมลานินได้เช่นกัน
2 สวมหมวกหรือเสื้อผ้าที่ป้องกันแสงแดดและหลีกเลี่ยงแสงแดดในช่วงเวลาที่ร้อนที่สุดของวัน
3 หลีกเลี่ยงการเกิดการอักเสบซ้ำซ้อน เช่น ไม่แคะ แกะ เกาแผลสิวจนอักเสบมากขึ้น การแว๊กซ์ การสัก การทำเลเซอร์ หรือลอกหน้าที่ต่อเนื่องบ่อยจนเกินไปผิวซ่อมแซมตัวเองไม่ทันทำให้อ่อนแอลงเรื่อยๆ
4 หลีกเลี่ยงยาบางชนิดที่เสี่ยงต่อการเกิดรอยดำ
5 ออกกำลังกายเป็นประจำ ทำให้มีเหงื่อเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการล้างพิษ เพิ่มการไหลเวียนเลือด เพิ่มระบบภูมิคุ้มกัน ต่อต้านริ้วรอยทำให้สุขภาพผิวดีขึ้นออกกำลังกายอย่างน้อย 30-60 นาทีทุกวัน
6 กินอาหารเพื่อสุขภาพและต้านการอักเสบ อาหารและวิถีชีวิตที่ไม่ดีทำให้ผิวเสื่อมแก่, ผิวคล้ำไม่เรียบเนียน, การหมุนเวียนของเซลล์ผิวน้อยลง, ผิวแห้งกร้านและความกระชับเต่งตึง จริงๆแล้วเรื่องสำคัญของการมีสภาพและสีผิวที่ดีเรียบเนียน คือต้องแก้ไขปัญหาสุขภาพพื้นฐานจากภายใน อาหารที่ดียังช่วยให้คุณมีน้ำหนักที่สมส่วน (โรคอ้วนเชื่อมโยงกับสีผิวที่เปลี่ยนไป) และช่วยป้องกันการเกิดสิว อาหารที่ช่วยดูแลผิวพรรณและริ้วรอย เช่น ผักใบเขียว ผักสีเหลืองสีส้ม ชาเขียว มะเขือเทศ เบอร์รี่ต่างๆ ทับทิม น้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะกอก อะโวคาโด อัลมอนด์ เมล็ดแฟลกซ์ วอลนัท และถั่ว ธัญพืชอื่น ๆ ซึ่งช่วยให้ผิวชุ่มชื้นป้องกันการแห้งและลดการอักเสบ
7 เลือกผลิตภัณฑ์ที่ลดการอักเสบปลอดภัยไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิว
การรักษารอยดำ
ปัจจุบัน มีผลิตภัณฑ์ดูแลจุดด่างดำ รอยดำแดง หลังการอักเสบ หรือ PIH เพื่อให้ผิวหน้ากระจ่างใส
- การลอกหน้าด้วยสารเคมี
- การกรอผิวด้วยผงขัด
- การใช้ความเย็นจัด
- การใช้เทคนิคประจุไฟฟ้า
- การใช้เทคนิคฉายแสง เช่น เช่น เลเซอร์และแสงความเข้มสูง (Intense Pulsed Light หรือ IPL), pigmented lesion dye laser (510 nm), copper vapor laser, Q-switched ruby laser (694 nm), argon laser (488 nm) Q-switched Nd : Yag laser (1064 nm) Fractional photothermolysis ควรระวังแทรกซ้อนคือ อาการเจ็บปวด, ผิวแดง, บวม, และรอยดำหลังการอักเสบ (post inflammatory hyperpigmentation) การดูแลผิวหลังการฉายแสงจึงมีความสำคัญมาก งดการใช้โฟมล้างหน้าโทนเนอร์ หลังการฉายแสง แนะนำ Phil Camel Milk Super Whitening Serum มีส่วนผสมดูแลผิวจากธรรมชาติ ลดการอักเสบสมานแผล ฟื้นฟูความชุ่มชื้นแข็งแรงให้กับผิวคุณ
- การฝังเข็ม
- การใช้ยา ยาที่แพทย์ใช้รักษาฝ้ากระจุดด่างดำ มีหลายกลุ่ม มีทั้งออกฤทธิ์ให้ขาวขึ้นไม่กัดผิว แต่จะมียาทาฝ้าอีกกลุ่มที่มีส่วนผสมของยา2-3ชนิดหลักๆที่แพทย์จ่ายให้ คือ hydroquinone ซึ่งฟอกผิว ซึ่งบางประเทศห้ามใช้เนื่องจากควบคุมปริมาณการใช้ยาก ทำให้คนไข้ผิวระคายเคืองหน้าดำจาก hydroquinone ไม่ใช่รอยดำจากฝ้า ทำให้มีการเพิ่มกรดเรติโนอิค เพื่อเร่งการผลัดเซลล์ผิวที่เป็นรอยดำจากผลของไฮโดรควิโนน แต่ฤทธิ์ยาสองตัวนี้คือ การกัดผิวเกิดการระคายเคือง การเพิ่มยาสเตียรอยด์เข้าไปเพื่อลดการอักเสบระคายเคืองที่เกิดจากฤทธิ์ของยา เนื่องจากยามีฤทธิ์ในการกัดผิวให้ฝ้าจางลงได้เร็วแต่มีผลข้างเคียงจากยารุนแรง มีผลต่อคุณภาพผิวในระยะยาว อาจทำให้ผิวบางลงและหยุดยาไม่ได้ การใช้จึงต้องอยู่ในการควบคุมของแพทย์และจำกัดระยะเวลาการใช้ ที่แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ยาทาฝ้าดังกล่าว สามารถหาซื้อได้จากร้านยาที่มีเภสัชกรเช่นกัน แต่ห้ามใช้ในผลิตภัณฑ์ที่จัดอยู่ในกลุ่มเครื่องสำอาง ซึ่งมักมีผู้ลักลอบใส่สารเหล่านี้ลงไปตามที่เป็นข่าวกันเป็นระยะๆ
- ใช้ผลิตภัณฑ์ Phil Bright Auractivator Essence และ Phil Camel Milk Super Whitening Serum เอสเซนส์และเซรั่มที่มีส่วนผสมดูแลผิวธรรมชาติจาก น้ำนมอูฐ สาหร่ายทะเลน้ำลึก ลิโคไรซ์ รากชะเอมเทศ วิตามินต่างๆที่ช่วยทำให้ผิวขาวขึ้นและไม่มีฤทธิ์ในการกัดผิว หรือฟอกสีผิว ปราศจากสีและน้ำหอม อ่อนโยนและปลอดภัย ผลิตโดยนักวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางโดยตรง
Credit: doctor.or.th