โครงสร้างผิวหนัง

skin structure, layers skin

ผิวหนังทั้งหมด

  • มีพื้นที่ 1.5 – 2 ตารางเมตร
  • หนา 0.1 ถึงสุดสุด 10 เซนติเมตร
  • น้ำหนัก 10 – 20 กิโลกรัม

ต่อตารางเมตร

  • มีเซลล์ประมาณ 6 ล้านเซลล์
  • มีประสาทสัมผัสประมาณ 5,000 ปลายประสาทสัมผัส
  • มีเส้นประสาทประมาณ 400 เซนติเมตร
  • มีประสาทรับความรู้สึกเจ็บปวดประมาณ 200 ประสาท
  • มีเส้นเลือดยาวประมาณ 100 เมตร
  • มีต่อมเหงื่อประมาณ 100 ต่อม
  • มีต่อมไขมันประมาณ 15 ต่อม
  • มีประสาทรับความเย็นประมาณ 12 ปลายประสาท
  • มีขน 5 เส้น
  • มีประสาทรับความรู้สึกร้อน 2 ประสาท

หน้าที่ของผิวหนัง

  • ปกป้อง ป้องกันการขาดน้ำ การระเหยของน้ำออกจากผิว ควบคุมอุณหภูมิ ความร้อน ความเย็น รังสี มลพิษ สารระคายเคือง สารก่อภูมิแพ้ เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ป้องกันอันตรายจากภายนอกทั้งการกระแทกและการฉีกขาด
  • รับความรู้สึกแล้วรายงานไปยังสมอง เพื่อสั่งการให้ร่างกายตอบสนอง ต่อความร้อน ความเย็น การสัมผัส รูปร่างผิวสัมผัส ความเจ็บปวด และภาวะกดดัน
  • ปรับอุณหภูมิให้ร่างกาย ผิวหนังจะขับเหงื่อออกมาเพื่อปรับให้ร่างกายเย็นขึ้น และจะส่งผลให้หลอดเลือดในชั้นหนังแท้เกิดการหดตัวเพื่อสงวนความร้อนเอาไว้ ระบบการควบคุมอุณหภูมิของผิวหนังนั้น อาศัยการขยายตัวและการหดตัวของเส้นโลหิตบริเวณใกล้ผิวตามสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
  • สัญญาณต่างๆ บอกถึงความผิดปกติภายในร่างกาย หรือ แสดงความรู้สึกภายใน เช่น อาการหน้าแดงเมื่อเป็นลม ผิวหนังขึ้นผื่นแดงเมื่อแพ้ยา แพ้อาหาร หรือแพ้อากาศ  หน้าแดง หน้าซีดเผือด ขนลุกชัน เป็นต้น
  • สังเคราะห์ วิตามินดี ผิวหนังป้องกันรังสี UV จากแสงแดด โดยควบคุมปริมาณให้ผ่านเข้าไปได้เล็กน้อย เพื่อนำไปสังเคราะห์สารเคมีประเภทวิตามินดี 3 (เปลี่ยน 7-dehydrocholesterol เป็น cholecalciferol) ซึ่งวิตามินดี 3 นี้ มีความจำเป็นต่อระบบกระดูก และช่วยให้ฟันแข็งแรง
  • ซ่อมแซมผิว ผิวหนังสามารถซ่อมแซมตัวเองได้เมื่อเกิดบาดแผล
  • ขับของเสีย และ สารจำพวกเกลือแร่ที่เกินจากความต้องการของร่างกาย ออกจากร่างกาย ในรูปของเหงื่อ ทางต่อมเหงื่อ
  • ดูดซึมสารบางชนิดที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย รวมถึงดูดซึมยา ประเภทยาทา เข้าสู่ร่างกาย
  •   หลั่งไขมันออกมาทางต่อมไขมัน เพื่อหล่อเลี้ยงให้เส้นผม และ ขนต่าง ๆ เงางาม

ชนิดของผิวหนัง

ผิวหนังคนเรานั้นมี 2 ชนิดด้วยกัน คือ

  1. ผิวหนังที่ไม่มีขน (Glabrous skin) ได้แก่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะบุคคล (Dermatoglyphics) มี encapsulated sense organในชั้นหนังแท้ สําหรับรับความรู้สึก ไม่มีเส้นขนเส้นผมและต่อมไขมัน ผิวหนังตําแหน่งนี หนามากเป็นพิเศษ
  2. ผิวหนังส่วนที่ มีขน (Hair-bearing skin) ไม่มี Encapsulated sense organ แต่มีขน ผมและต่อมไขมันผิวหนัง ประกอบด้วย 3 ชั้นคือ หนังกำพร้า หนังแท้ และ ชั้นไขมัน

#ผิวหน้าแห้ง #ผิวหน้าแห้งมาก #ผิวหน้าหมองคล้ำ #ผิวหน้าขาดน้ำ #ผิวหน้าpantip #ผิวหน้า40 #ผิวหน้าผู้ชาย #ผิวหน้าใส #ครีมฟื้นฟูผิวหน้า

ชั้นผิว และระบบผิวหนัง

(จากชั้นลึกสุดมายังชั้นบนสุด ชั้นหนังกำพร้า)

1. ระบบผิวหนัง ชั้นเนื้อเยื่อ หรือ SMAS ( Superficial Musculoaponeurotic System )

#ผิวหน้าแห้ง #ผิวหน้าแห้งมาก #ผิวหน้าหมองคล้ำ #ผิวหน้าขาดน้ำ #ผิวหน้าpantip #ผิวหน้า40 #ผิวหน้าผู้ชาย #ผิวหน้าใส #ครีมฟื้นฟูผิวหน้า

ระบบผิวหนังชั้นนี้จะอยู่ลึกจากชั้นไขมัน เป็นเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อของใบหน้า ลักษณะเป็นเนื้อเยื่อพังผืด ซึ่งมีความเหนียวและหนา และยังมีคอลลาเจนแนวนอนเกาะสอดประสานกันเป็นเส้นใยเหมือนเกลียวเชือก มีความแข็งแรงและทนทานอยู่ในบริเวณนี้เป็นจำนวนมาก

ชั้นเนื้อเยื่อ SMAS และ กล้ามเนื้อใบหน้า SMAS ย่อมาจาก Superficial Musculo Aponeurotic system ซึ่งชั้น SMAS นี้มีความสัมพันธ์กับผิวหนัง และชั้นไขมันใต้ผิวหนังด้านบน เมื่ออายุมากขึ้นกล้ามเนื้อหย่อนคล้อย หากต้องการศัลยกรรมดึงหน้า การดึงชั้น SMAS ให้ตึง จะทำให้ผิวชั้นบนเหมือนถูกดึงให้ตึงไปด้วย และชั้นใต้ SMAS นี้จะเป็นเพียงช่องว่าง หลวมๆ เป็นชั้นที่ช่วยลดการเสียดสี และรองรับการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อด้านบน

#ผิวหน้าแห้ง #ผิวหน้าแห้งมาก #ผิวหน้าหมองคล้ำ #ผิวหน้าขาดน้ำ #ผิวหน้าpantip #ผิวหน้า40 #ผิวหน้าผู้ชาย #ผิวหน้าใส #ครีมฟื้นฟูผิวหน้า

ดังนั้น การยกกระชับให้ผิวหน้าเต่งตึงเหมือนยังเยาว์ การทำงานของนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีด้านการแพทย์ความงาม การใช้ไหมยกกระชับหน้า หรือการผ่าตัดดึงหน้าก็ต้องลงลึกถึงผิวชั้น SMAS นั่นเอง ซึ่งในอดีตจะใช้วิธีการผ่าตัดกรีดลึกลงไปให้ถึงชั้นนี้ แล้วเลาะไปตามแนวใต้ SMAS จากนั้นดึง และเย็บชั้น SMAS ให้ตึง ซึ่งก็จะทำให้ผิวด้านบนถูกดึงให้ตึงด้วยนั่นเอง แต่หลังรักษาคนไข้ต้องพักฟื้นเป็นระยะเวลานาน และไม่สามารถฟื้นฟูผิวได้ครบทุกชั้น

2. ระบบผิวหนัง ชั้นไขมันใต้ผิวหนัง ( Subcutaneous Tissue or Hypodermis )

#เซลลูไลท์pantip #ผิวส้ม #ผิวเซลลูไล #ผิวส้มสาเหตุ #ผิวหน้าแห้ง #ผิวหน้าแห้งมาก #ผิวหน้าหมองคล้ำ #ผิวหน้าขาดน้ำ #ผิวหน้าpantip #ผิวหน้า40 #ผิวหน้าผู้ชาย #ผิวหน้าใส #ครีมฟื้นฟูผิวหน้า

ระบบผิวหนังชั้นนี้เราเรียกกันว่า เนื้อใต้หนังประกอบด้วยเซลล์ไขมันเป็นหลัก ความหนาขึ้นอยู่กับปริมาณไขมันของแต่ละบุคคล ทำหน้าที่ปกคลุมอวัยวะต่างๆของร่างกายด้วยความหนาสูงสุดถึง 10 เซนติเมตร สารอาหารต่างๆ ที่ร่างกายได้รับและไม่ได้ถูกเผาผลาญให้เป็นพลังงานก็จะถูกกักเก็บไว้ในรูปของไขมันอยู่ในชั้นไขมันนี้ และจะมีการนำมาใช้ในยามที่ร่างกายมีความจำเป็น  ไขมันที่เก็บกักอยู่นี้จะทำหน้าที่เป็นฉนวนเพื่อควบคุมอุณหภูมิความร้อนให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย ช่วยลดแรงกระทบกระแทกจากภายนอก และชั้นไขมันที่มีมากโดยเฉพาะบริเวณสะโพก เอว ต้นขา ที่เรียกว่า เซลลูไลท์ ( cellulite ) คือไขมัน ที่มีเนื้อเยื่อคล้ายพังผืดแทรกอยู่ทําให้เกิดการดึงรั้งผิวหนังเห็นเป็นลอนๆ จากภายนอก ที่เราเรียกว่าผิวเปลือกส้ม การเกิด เซลลูไลท์ ( cellulite ) ไม่ขึ้นกับ ปริมาณของไขมันในร่างกายคนผอมก็มี เซลลูไลท์ได้ ( cellulite )

3. ระบบผิวหนัง ชั้นหนังแท้ ( Dermis )

หนังแท้ (dermis) เป็นผิวหนังที่อยู่ชั้นล่างถัดจากหนังกำพร้า แต่หนากว่าหนังกำพร้ามาก ระบบผิวหนังแท้จะประกอบด้วยโปรตีนหลัก 2 ชนิด คือ เนื้อเยื่อคอลลาเจน (Collagen) อีลาสติน (Elastin) และตัวประสานเนื้อเยื่อไฮยารูรอน (Hyaluronic acid) ทำให้ผิวหนังมีความแข็งแรง และมีความยืดหยุ่นโดยมีหลอดเลือดฝอย ปลายประสาทรับความรู้สึก ระบบประสาทอัตโนมัติควบคุมการทำงานของต่อมไขมัน ต่อมเหงื่อ และรากขน/ผม กระจายอยู่ทั่วไปในชั้นหนังแท้

คอลลาเจน(Collagen) ช่วยให้ความแข็งแรง หนาแน่นแก่ผิวหนัง และช่วยในการซ่อมแซมผิวหนังที่บาดเจ็บ ซึ่งถ้าสร้างในปริมาณมากเกินไปก็เกิดแผลเป็น หรือคีลอย์นั่นเอง ส่วน อีลาสติน (Elastin)สร้างความยืดหยุ่นให้กับผิวหนัง และในชั้นหนังแท้นี้ยังเป็นที่อยู่ของ หลอดเลือด เส้นประสาท  ต่อมไขมัน ต่อมเหงื่อ และรูขุมขนกระจายอยู่ทั่วไปทั้งหมดนี้ก็ล้วนเป็นส่วนหนึ่งในชั้นหนังกำพร้าและมีรากฐานอยู่ในชั้นหนังแท้ ความยืดหยุ่นเกิดจากคอลลาเจนที่แข็งแกร่ง เส้นใยที่ยืดหยุ่น บวกกับโมเลกุลสารพื้นฐานที่ชุ่มชื้นมาก (Glycosaminoglycans) ที่มีอยู่ องค์ประกอบทั้งสามประการนี้สร้างขึ้นจากเซลล์เนื้อเยื่อเชื่อมโยง (Fibroblast) รูปลักษณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปในลักษณะต่างๆ เกิดจากวัยที่สูงขึ้น (ริ้วรอย ผิวหย่อนคล้อย ไม่สดใส) มีผลมาจากการฉีกขาดและการยึดติดของเส้นใย รวมทั้งการสูญเสียความสามารถของฐานรากในการดูดซับความชุ่มชื้น

Collagen ที่ผสมในครีมหรือmoisturizer สามารถซึมเข้าสู่ผิวได้หรือไม่ ?

การซึมเข้าสู่ผิวของสารนั้นขึ้นกับขนาดของโมเลกุลคือเล็กกว่า 5,000 dalton จึงซึมลงสู่ผิวได้ คอลลาเจน ทั่วไปนั่นขนาดอยู่ที่ 15,000-50,000 dalton จึงไม่สามารถซึมเข้าสู่ผิวได้ การที่ผิวดูนุ่มลื่นมาจากการที่ คอลลาเจน เข้าไปเคลือบที่ผิวชั้นบน

#ผิวหน้าแห้ง #ผิวหน้าแห้งมาก #ผิวหน้าหมองคล้ำ #ผิวหน้าขาดน้ำ #ผิวหน้าpantip #ผิวหน้า40 #ผิวหน้าผู้ชาย #ผิวหน้าใส #ครีมฟื้นฟูผิวหน้า

ชั้นหนังแท้จะประกอบด้วยชั้นย่อยๆอีก 2 ชั้น ได้แก่

  •  Stratum Papillare: มีลักษณะของขอบเหมือนคลื่น กั้นระหว่างชั้นหนังกำพร้า
  •  Stratum Reticulare: เป็นส่วนที่อยู่ลึกสุด และมีความหนา ซึ่งในชั้นนี้จะมีการผลิตของเหลวกั้นชั้นของไขมัน (Subcutis) ไว้อีกด้วย

4. ระบบผิวหนัง ชั้นหนังกำพร้า ( Epidermis )

ระบบผิวหนัง ชั้นอิพิเดอร์มิส ( Epidermis ) เราเรียกว่าหนังกำพร้า เป็นชั้นของผิวหนังที่ปกคลุมอยู่บนสุด  ทำหน้าที่ช่วยปกป้องผิวเราจากสารพิษ สารระคายเคือง แบคทีเรีย และการสูญเสียน้ำ ชั้นหนังกำพร้านี้จะมีอีก 5 ชั้นย่อย ซึ่งจะมีส่วนในกระบวนการผลัดเซลล์ผิว (Keratinisation) ประกอบไปด้วยเซลล์ที่มีการเรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆและเกิดใหม่โดยที่เซลล์ใหม่จะถูกสร้างจากชึ้นล่างสุดติดกับชั้นผิวหนังแท้และเจริญเติบโตขึ้นแล้วค่อย ๆ เคลื่อนตัวขึ้นมาทดแทนเซลล์ที่อยู่ชั้นบนจนถึงชั้นบนสุดแล้วก็กลายเป็นขี้ไคล (keratin) หลุดลอกออกไป

นอกจากนี้ในชั้นหนังกำพร้ายังมีเซลล์ เรียกว่า เมลานิน ปะปนอยู่ด้วย เมลานินมีมากหรือน้อยขึ้น อยู่กับบุคคลและเชื้อชาติ จึงทำให้สีผิวของคนแตกต่างกันไป ในชั้นของหนังกำพร้าไม่มีหลอดเลือด เส้น ประสาท และต่อมต่างๆ นอกจากเป็นทางผ่านของรูเหงื่อ เส้นขน และไขมันเท่านั้น และจะประกอบด้วยชั้น ย่อยๆ อีก 5 ชั้นซึ่งในแต่ละชั้นมีลักษณะโครงสร้างและหน้าที่ต่างกันดังนี้

#ผิวหน้าแห้ง #ผิวหน้าแห้งมาก #ผิวหน้าหมองคล้ำ #ผิวหน้าขาดน้ำ #ผิวหน้าpantip #ผิวหน้า40 #ผิวหน้าผู้ชาย #ผิวหน้าใส #ครีมฟื้นฟูผิวหน้า

 4.1   Stratum Corneum or Horny Layerผิวหนังชั้นบนสุด หนาประมาณ 0.02 มิลลิเมตร ลักษณะเป็นเซลล์แบนๆ ไม่มีสี เรียงเป็นแถวขนานกับผิวแบบหลังคาบ้าน ไม่มีนิวเคลียส เป็นเซลล์ที่ตายแล้ว ไม่มีกระบวนการเมตาโบลิซึมเกินขึ้น ดูดซึมอาหารไม่ได้ มีประมาณความชื้นต่ำ เรียก corneal cell หรือ corneocytes  ส่วนประกอบใหญ่ คือ คีราติน (keratin)  เป็นโปรตีนที่แปรสภาพมาจากเซลล์ชั้นอื่นที่อยู่ใต้ลงไป ไม่ละลายน้ำ ทนต่อสารเคมี จึงทำหน้าที่สำคัญในการป้องกันผิวหนังจากการสูญเสียน้ำ สารระคายเคือง สารก่อภูมิแพ้ สารพิษ และจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค เซลล์เหล่านี้ถูกเชื่อมให้ต่อกันได้ด้วยสารที่เป็นไขมันคล้ายกาว (intercellular lipid) เรียกว่า skin fat ซึ่งได้จากการสลายตัวของเซลล์ในกระบวนการผลัดเปลี่ยนเซลล์ผิว (keratinization)  ของเซลล์ชั้นล่างๆ skin fat นี้ ประกอบด้วยกรดไขมัน, ceramides, กรดอะมิโน, purine และน้ำตาล pentose ซึ่ง skin fat นี้สามารถดูดความชื้นจากเหงื่อรวมตัวเป็นอีมัลลชั่นปกคลุมผิวหนัง ทำให้ผิวมีความยืดหยุ่นและนุ่มนวล เป็นการรักษาความชื้นให้ผิว โดยปกติแล้ว corneal cell หรือ corneocyte ซึ่งจะหลุดลอกออกเป็นขี้ไคล (Desquamation process) เมื่อถึงเวลาอันควร วงจรปกติคือ ประมาณ 20-25 วัน แต่พบว่าในแต่ละแห่งของร่างกายวงจรการหลุดลอกของขึ้ไคลจะไม่เท่ากัน เช่น ข้อพับใต้ท้องแขน 100 วัน หัวเข่า 20 วัน ข้อศอก 10 วัน เป็นต้น

#ผิวหน้าแห้ง #ผิวหน้าแห้งมาก #ผิวหน้าหมองคล้ำ #ผิวหน้าขาดน้ำ #ผิวหน้าpantip #ผิวหน้า40 #ผิวหน้าผู้ชาย #ผิวหน้าใส #ครีมฟื้นฟูผิวหน้า

4.2    Statum Licidum or Clear layer เซลล์ในชั้นนี้จะอัดตัวกันอยู่อย่างหนาแน่น และมีลักษณะแบนราบ ไม่สามารถแยกตัวออกจากกัน ประกอบไปด้วย หยดน้ำมันที่เรียกว่า eleidin ชั้นนี้จะพบมากที่อุ้งมือ อุ้งเท้า และผิวหนังส่วนที่หนา clear layerอยู่ระหว่างชั้น stratum lucidum และ stratum granulosum ซึ่งอยู่ถัดลงไป มีเยื่อคีราตินบางๆ เรียก Rein’ barrier เยื่อนี้จะเป็นตัวแบ่งกั้นพีเอชของผิวหนัง โดยที่เหนือเยื่อนี้ขึ้นไปมีพีเอช 5 ใต้ลงมามีพีเอชมากขึ้น เยื่อนี้จะเป็นตัวกั้นการซึมผ่านเข้าออกของน้ำและอีเลคโตรไลท์     

4.3   Stratum Granulosum or Granular Layer ภายใน cytophasm ของเซลล์ชั้นนี้มี granule ที่เรียกว่า Keratohyalin ทำหน้าที่ช่วยสะท้อนแสงทำให้ผิวดูขาวผุดผ่องและทึบแสง เซลล์ชั้นนี้อาจเรียงตั้งแต่ 1-4 แถว แล้วแต่บริเวณของร่างกาย  เซลล์ชั้นนี้ค่อยๆ กลายสภาพเป็น extracellular compartment ซึ่งอยู่ระหว่างเซลล์ของ stratum corneum ภายในจะประกอบด้วย sterol, lipids และเอนไซม์  ได้แก่ lipases, glycosidases และ acid phosphatase สามารถเปลี่ยนสภาพจากไขมันชนิดมีขั้ว (glycoceramides) ไปเป็นไขมันชนิดไม่มีขั้ว (ceramides) ซึ่งตกผลึกเป็นชั้น (lipid lamellar หรือ lipid bilayer ) อยู่ระหว่าง corneocytes ทำให้เกิดขั้นซึ่งกั้นน้ำ เรียกว่า skin fat ชั้นนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการผลัดเซลล์ผิว (Keratinisation) เซลล์จะเริ่มมีลักษณะแข็ง และเริ่มเปลี่ยนเป็น Keratin และ lipids

#ผิวหน้าแห้ง #ผิวหน้าแห้งมาก #ผิวหน้าหมองคล้ำ #ผิวหน้าขาดน้ำ #ผิวหน้าpantip #ผิวหน้า40 #ผิวหน้าผู้ชาย #ผิวหน้าใส #ครีมฟื้นฟูผิวหน้า

4.4   Stratum Spinosum or Prickle Cell Layer ในชั้นนี้ประกอบด้วยเซลล์คีราติโนไซท์ (Kerationcytes)หลายชั้น เซลล์ที่เรียงตัวอยู่ด้านล่างสุดยังคงมีสมบัติในการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส (meitosis) อยู่ เซลล์คีราติโนไซท์ (Kerationcytes)จะผลิตโปรตีนที่เรียกว่า Keratin ซึ่งจะมีลักษณะเล็กเรียวรูปหลายเหลี่ยมขนาด 100-300 mm เรียงเป็นชั้นๆ เรียก Membrane-Coating Granules (MCG)  หรือ Odland Bodies กระจายอยู่ทั่วไป  ซึ่ง MCG นี้ต่อไปจะเป็นตัวสร้างไขมัน (Stratum corneum  lipid)  ที่อยู่ระหว่างเซลล์ (Intercellular  lipid) มี Cytophasm เป็นรูปเส้นด้าย เรียก Epithelic Fibers or Tinofibrils เห็นนิวเคลียสชัดเจน เซลล์ชั้นใต้ๆ มีเม็ดสีผิว (melanin granules) อยู่ภายใน ซึ่งเคลื่อนย้ายมาจากเซลล์สร้างสี (Melanocytes) ในชั้น Stratum Basale

4.5   Stratum Basale เป็นส่วนที่อยู่ชั้นในสุด ประกอบด้วย basal cell หรือเซลล์ต้นกำเนิด (stem cell) เรียงตัวชั้นเดียว มีการแบ่งตัวแบบไมโทซิส และถือว่าเป็นชั้นที่เซลล์ยังมีชีวิต ชั้นมีมีเซลล์เรียงกันแถวเดียว รูปทรงกระบอก ภายในนิวเคลียสเชื่อมต่อกันด้วย Tonofibrils เซลล์ชั้นที่ 4 และ 5 นี้มีการแบ่งตัวดี อาจเรียกรวมกันว่า Stratum Germinatibum ในชั้นนี้มีเซลล์ที่สำคัญคือ คีราติโนไซท์ (Kerationcytes) มีการแบ่งตัวและพัฒนาหลายขั้นตอนปรากฎเป็นเซลล์ชั้นและพัฒนากลายเป็น เซลล์คีราติโนไซท์  ในชั้น stratum spinosum และชั้นต่าง ๆ ถัดขึ้นไปบนผิว เรียก กระบวนการผลัดเซลล์ผิว

ชั้นหนังกำพร้านี้ยังมีเซลล์ที่สำคัญอีก 4 ชนิด คือ

  1. Keratinocytes พบมากที่สุด เพราะเป็นพวกเซลล์ที่เป็นองค์ประกอบหลักในชั้นต่าง ๆ ของหนังกำพร้า  ภายใน keratinocytes  ทุกตัว
    จะพบว่ามี   keratin  intermediate  filaments  อยู่ใน cytoplasm  มีชื่อเรียกว่า tonofilament  ซึ่ง keratin filament นี้ เป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่เหมือนเป็นกระดูกสันหลัง (Cytoskeleton) ของ keratinocytes  ถ้าหากพบว่ามี      keratin filaments     อยู่ในเซลล์ใด สามารถบอกได้เลยว่าเซลล์นั้นคือ   keratinocytes (epithelial cells)   นอกจากนี้แล้ว keratin filaments ยังเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้าง ที่มีหน้าที่เชื่อมยึดติดระหว่าง   keratinocytes    แต่ละตัวให้ติดอยู่ด้วยกัน  โครงสร้างนี้มีชื่อว่า desmosomes เมื่อเราดูด้วยกล้องจุลทรรศน์เห็นเหมือนสะพานเชื่อม      ระหว่างเซลล์ที่เรียกว่า     intercellular  bridges   เป็นโครงสร้างที่มีความสำคัญ หากผิดปกติจะทำให้เซลล์แต่ละตัวแยกจากกัน ทำให้เกิดโรคผิวหนังในกลุ่มเพมฟิกัส Pemphigus หรือโรคตุ่มน้ำพองจากภูมิคุ้มกันเกิดขึ้น    Keratinocytes  เป็นเซลล์ที่มี nucleus ติดสีเข้ม  เซลล์เหล่านี้เกิดจากการแบ่งตัวของ basal cells ซึ่งเป็นเซลล์ที่อยู่ชั้นล่างสุดของ   epidermis  เมื่อเซลล์เหล่านี้เจริญเติบโต  (Development)  และมีพัฒนาการมากขึ้น  (Differentiation)   ก็จะเคลื่อนตัวเองออกมาชั้นบนขึ้นเรื่อยๆ   เซลล์จะมีการเพิ่มขนาดใหญ่ขึ้นและเซลล์ก็จะนอนแบนราบลง  มีการเปลี่ยนแปลงของระบบ metabolism ของเซลล์มีการสร้างโปรตีนและไขมันที่มีลักษณะเฉพาะ  มีการเปลี่ยนแปลงของ cell  membrane  มีการสลายตัวของ nucleus  และมีการสูญเสียน้ำออกจากเซลล์ (Dehydration)  โดยจุดมุ่งหมายสุดท้ายของการเปลี่ยนแปลงนี้ (terminal differentiation)  คือ ได้ keratinocytes  ที่ตายแล้ว  (dead keratinocytes)   ที่มีชื่อใหม่ว่า corneocytesซึ่ง corneocytes    นี้จะมีเฉพาะ keratin  filament และ matrix protein  อยู่ในเซลล์เท่านั้น  โดยมีโปรตีนและไขมันอยู่ที่  cell membrane  (protein-reinforced  plasma  membrane with surface-associated  lipids) เท่านั้น  จะไม่มี nucleus หรือ organells อื่นๆ หลังจากนี้ corneocytes ก็จะลอกหลุดออกไปกลายเป็นขี้ไคล (keratin)    ขบวนการนี้เรียกว่า keratinization
  2. Langerhan’s cells พบอยู่ในชั้น  Stratum Spinosum แทรกอยู่ระหว่าง keratinocyte เป็นเซลล์ที่มีต้นกำเนิดจากไขกระดูก เป็นเซลล์ที่เข้าใจว่าทำหน้าที่เก็บกินสิ่งแปลกปลอมของผิวหนัง กำเนิดมาจาก monocytes ทำหน้าที่คล้าย macrophage ซึ่งมีบทบาทสำคัญในระบบภูมิคุ้มกันของผิวหนัง
  3. Merkel cells เป็น Dendritic  cell กำเนิดมาจาก neural crest  ที่พบอยู่บริเวณชั้น Basal cell  layer ทำหน้าที่เป็นเซลล์ประสาทในหนังกำพร้า
  4. Melanocytes ซึ่งสร้างสารเมลานิน (melanin)หรือเม็ดสีสร้างจากเซลล์ผิวหนังที่เรียกว่าเมลาโนไซต์ (melanocyte) เป็นเซลล์ที่เจริญมาจากเซลล์ระบบประสาทซึ่งแทรกตัวอยู่ในชั้น stratum spinosum และ stratum basale โดยเซลล์เมลาโนไซต์หนึ่งเซลล์จะแตกแขนงเป็นร่างแหเล็กๆ ยื่นไปสัมผัสเซลล์ผิวหนังประมาณ 36 เซลล์ เมลาโนไซต์จะสร้างสารเมลานินบรรจุในแคปซูลเรียกว่าเมลาโนโซม เมื่อสร้างเสร็จจะส่งไปตามร่างแหเข้าสู่เซลล์ผิวหนัง  โดยปกติ melanocytes  จะไม่แบ่งตัวเพิ่มจำนวนมากขึ้นเอง  (in situ)   แต่ถ้ามีปัจจัยเหล่านี้มากระตุ้น ได้แก่แสงแดด, ฮอร์โมน, สารกระตุ้นการอักเสบ  การตั้งครรภ์ และวิตามิน D3  ที่สร้างภายในผิวหนัง  ปัจจัยเหล่านี้จะกระตุ้นให้มีการแบ่งตัวเพิ่มขึ้นของ melanocyte,    melanocyte  จะมี dendritic  processes เพิ่มมากขึ้น,  มีการสร้าง melanin เพิ่มมากขึ้น(melanogenesis) และมีการส่ง melanin ไปให้ keratinocytes เพิ่มมากขึ้น ผลก็คือสีผิวจะเข้มขึ้นกว่าเดิม นั่นคือ สีผิวของมนุษย์จะขึ้นอยู่กับขนาด, ชนิด,   จำนวนของ melanosome,  จำนวน melanin ในkeratinocytes  และความสามารถของ melanocytes  ในการผลิต melanin (Melanogenesis) 

#ผิวหน้าแห้ง #ผิวหน้าแห้งมาก #ผิวหน้าหมองคล้ำ #ผิวหน้าขาดน้ำ #ผิวหน้าpantip #ผิวหน้า40 #ผิวหน้าผู้ชาย #ผิวหน้าใส #ครีมฟื้นฟูผิวหน้า สารเมลานินสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ยูเมลานิน (Eumelanin) เป็นเซลล์เม็ดสีเข้ม เพราะมีเมลานินบรรจุอยู่ในแคปซูลมาก และฟีโอเมลานิน (Pheomelanin) เป็นเซลล์สีเหลืองหรือแดง เพราะมีเมลานินน้อยฉะนั้นคนผิวขาว ผมแดง จึงมีฟีโอเมลานินมาก ส่วนคนผิวเข้ม ผมดำ จึงมียูเมลานินมาก ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้คนผิวดำแตกต่างจากคนผิวขาว ผิวเหลือง คือคนผิวเข้มจะมีการสร้างเมลาโนโซมขนาดใหญ่กว่า มีจำนวนมากกว่า จึงทำให้สร้างเมลานินได้มากกว่า รวมถึงเมลาโนโซมถูกทำลายช้ากว่าคนผิวขาวด้วย จะสังเกตุได้ว่า ผิวของคนผิวขาวเมื่อสัมผัสรังสียูวี ผิวจะคล้ำแต่จะแดงและไหม้ รวมถึงจะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งผิวหนัง ในขณะที่คนผิวเข้ม คนเอเชีย เมื่อสัมผัสแดดผิวจะคล้ำขึ้นซึ่งเป็นกลไกการปกป้องผิวหนังนั่นเอง

#ผิวหน้าแห้ง #ผิวหน้าแห้งมาก #ผิวหน้าหมองคล้ำ #ผิวหน้าขาดน้ำ #ผิวหน้าpantip #ผิวหน้า40 #ผิวหน้าผู้ชาย #ผิวหน้าใส #ครีมฟื้นฟูผิวหน้า

สีผิวหนังเรามีพันธุกรรมเป็นตัวกำหนด สีผิวที่เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากมีปัจจัยทั้งภายในและภายนอกบางอย่างมากระตุ้น ได้แก่ รังสียูวี ฮอร์โมน อายุ การอักเสบ ฯลฯ ปัจจัยเหล่านี้จะกระตุ้นให้มีการแบ่งตัวเพิ่มขึ้นของ melanocyte ทำให้เกิดการสร้างเมลานินเพิ่มมากขึ้น ผลก็คือสีผิวจะเข้มขึ้นกว่าเดิม และถ้ามีการสร้างที่มากผิดปกติอาจทำให้เกิดรอยดำต่างๆ ซึ่งการเกิดรอยดำแต่ละประเภทอาจมาจากหลายปัจจัยร่วมกัน ถ้าควบคุมหรือเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เกิดได้และใช้ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยลดกลไกลการเกิดเม็ดสีได้ ผิวพรรณก็แข็งแรงสดใสชะลอความอ่อนเยาว์ของเซลล์ผิวได้แน่นอน

#ผิวหน้าแห้ง #ผิวหน้าแห้งมาก #ผิวหน้าหมองคล้ำ #ผิวหน้าขาดน้ำ #ผิวหน้าpantip #ผิวหน้า40 #ผิวหน้าผู้ชาย #ผิวหน้าใส #ครีมฟื้นฟูผิวหน้า

.

.

.

.

 

 

 

 

Credit:mydr.com.au,pobpad.com,cai.md.chula.ac.th/ ,skinanswer.org

 

error: Content is protected contact admin!!